จุดอันตราย!!! ช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน กับผลกระทบต่อสุกร

ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้สุกรอ่อนแอ คือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและอุณหภูมิ โดยเฉพาะในช่วงรอยต่อของฤดูกาล เช่น ฤดูร้อนต่อฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่สภาวะอากาศจะไม่คงที่ สลับกันทั้งแดดร้อนทั้งฝนตก  ทำให้ร่างกายของสุกรปรับตัวไม่ทัน  จนเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนและอาจส่งผลทำให้สุกรเกิดการเจ็บป่วยขึ้นได้ภายในฟาร์ม

โดยปกติแล้วสุกรเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อและมีปอดขนาดเล็กเมื่อเทียบกับร่างกาย แถมยังมีชั้นไขมันหนาใต้ผิวหนังอีกด้วย  ปัจจัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ความสามารถในการระบายความร้อนออกจากร่างกายของสุกรทำได้ยากกว่าสัตว์ชนิดอื่น

ในช่วงรอยต่อของฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน  จะมีช่วงเวลาที่อากาศร้อนอบอ้าว อากาศปิด ลมไม่พัด ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง  สภาพอากาศแบบนี้จึงส่งผลกระทบต่อสุกรโดยตรง  การปรับตัวของสุกรจึงต้องเร่งถ่ายเทความร้อนออกนอกร่างกาย 2 ทาง คือ

  1. ทางลมหายใจออก
  2.            ทางผิวหนัง  โดยการไปนอนในที่เย็นๆ เช่น นอนแช่ในน้ำ หรือ นอนในบริเวณพื้นเปียกชื้น ไม่ว่าจะเป็นที่สะอาดหรือสกปรกก็ตาม

ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศยิ่งสูง  อัตราการหายใจออกของสุกรก็ยิ่งสูงตาม เพื่อระบายความร้อนให้ได้มากขึ้น ลักษณะที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ คือ กินน้ำมากขึ้น สุกรแสดงอาการหอบ หายใจเร็ว ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข อาจจะทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลง  ผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย  จนอาจเป็นสาเหตุทำให้สุกรเจ็บป่วยได้ เช่น

1.ผลต่อระบบทางเดินหายใจ

2.ผลต่อระบบทางเดินอาหาร

3.ผลต่อระบบสืบพันธุ์  เป็นต้น

ดังนั้นการจัดการฟาร์มสุกรควรแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุให้ดี  จัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนให้เหมาะสมกับอายุ และประเภทของสุกร  อันเป็นหลักการจัดการขั้นพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อให้สุกรแข็งแรง สมบูรณ์ สุกรกินได้ตามมาตรฐาน แสดงพฤติกรรมเป็นปกติ มีการเดิน เล่น นอนตะแคงด้านข้าง เหยียดตัวสบาย  สุกรจะรักษาที่กินและที่นอนให้เป็นสัดส่วน  ทำให้ง่ายต่อการจัดการด้านอื่น ๆ สามารถลดต้นทุนการผลิตสุกรของฟาร์มได้ และเป็นแนวทางการป้องกันปัญหาเรื่องโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

#Key Success #การจัดการฟาร์ม

#iTACteam​ #ทีม​วิชาการ​ทาง​ด้าน​ฟาร์ม​ปศุสัตว์​ #สุกร​ #Swine

CategoryArticle, iTAC

จุดอันตราย!!! ช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝน กับผลกระทบต่อสุกร

ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้สุกรอ่อนแอ คือ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและอุณหภูมิ โดยเฉพาะในช่วงรอยต่อของฤดูกาล เช่น ฤดูร้อนต่อฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่สภาวะอากาศจะไม่คงที่ สลับกันทั้งแดดร้อนทั้งฝนตก  ทำให้ร่างกายของสุกรปรับตัวไม่ทัน  จนเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนและอาจส่งผลทำให้สุกรเกิดการเจ็บป่วยขึ้นได้ภายในฟาร์ม

โดยปกติแล้วสุกรเป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อและมีปอดขนาดเล็กเมื่อเทียบกับร่างกาย แถมยังมีชั้นไขมันหนาใต้ผิวหนังอีกด้วย  ปัจจัยเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ความสามารถในการระบายความร้อนออกจากร่างกายของสุกรทำได้ยากกว่าสัตว์ชนิดอื่น

ในช่วงรอยต่อของฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน  จะมีช่วงเวลาที่อากาศร้อนอบอ้าว อากาศปิด ลมไม่พัด ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูง  สภาพอากาศแบบนี้จึงส่งผลกระทบต่อสุกรโดยตรง  การปรับตัวของสุกรจึงต้องเร่งถ่ายเทความร้อนออกนอกร่างกาย 2 ทาง คือ

  1. ทางลมหายใจออก
  2.            ทางผิวหนัง  โดยการไปนอนในที่เย็นๆ เช่น นอนแช่ในน้ำ หรือ นอนในบริเวณพื้นเปียกชื้น ไม่ว่าจะเป็นที่สะอาดหรือสกปรกก็ตาม

ถ้าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศยิ่งสูง  อัตราการหายใจออกของสุกรก็ยิ่งสูงตาม เพื่อระบายความร้อนให้ได้มากขึ้น ลักษณะที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ คือ กินน้ำมากขึ้น สุกรแสดงอาการหอบ หายใจเร็ว ถี่ขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการแก้ไข อาจจะทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลง  ผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย  จนอาจเป็นสาเหตุทำให้สุกรเจ็บป่วยได้ เช่น

1.ผลต่อระบบทางเดินหายใจ

2.ผลต่อระบบทางเดินอาหาร

3.ผลต่อระบบสืบพันธุ์  เป็นต้น

ดังนั้นการจัดการฟาร์มสุกรควรแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุให้ดี  จัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนให้เหมาะสมกับอายุ และประเภทของสุกร  อันเป็นหลักการจัดการขั้นพื้นฐานที่สำคัญ เพื่อให้สุกรแข็งแรง สมบูรณ์ สุกรกินได้ตามมาตรฐาน แสดงพฤติกรรมเป็นปกติ มีการเดิน เล่น นอนตะแคงด้านข้าง เหยียดตัวสบาย  สุกรจะรักษาที่กินและที่นอนให้เป็นสัดส่วน  ทำให้ง่ายต่อการจัดการด้านอื่น ๆ สามารถลดต้นทุนการผลิตสุกรของฟาร์มได้ และเป็นแนวทางการป้องกันปัญหาเรื่องโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

#Key Success #การจัดการฟาร์ม

#iTACteam​ #ทีม​วิชาการ​ทาง​ด้าน​ฟาร์ม​ปศุสัตว์​ #สุกร​ #Swine

 

CategoryiTAC, หมู, Article

For customer        02-937-4888