#ASPRUMSTORY #55
#แหล่งความรู้ทางด้านสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยเอเอสพีรูมิแนนท์
ตอน “แร่ธาตุแบบคีเลต ต่างจากแร่ธาตุทั่วไปยังไงบ้าง”
โดย : นายอัครสิทธิ์ โอภาษี ฝ่ายขายและวิชาการ
ทางด้านสัตว์เคี้ยงเอื้อง เอเอสพี รูมิแนนท์ ในเครือเวทโปรดักส์
📌 📌 📌 📌 📌 📌 📌 📌 📌 📌
📌 อุตสาหกรรมการเลี้ยงปศุสัตว์มีการใช้แร่ธาตุในรูปแบบต่างๆ เสริมลงในอาหารสัตว์ มีการเลือกใช้แร่ธาตุที่มีคุณสมบัติทางเคมีแบบอินทรีย์ (แร่ธาตุคีเลต) และอนินทรีย์ (แร่ธาตุทั่วไป) ซึ่งแหล่งของแร่ธาตุคีเลตจะมีประสิทธิภาพของค่าชีวปริมาณออกฤทธิ์ (Bioavailability) มากกว่าแร่ธาตุทั่วไป ดังนั้นจึงมีแนวคิดเกี่ยวกับการใช้แร่ธาตุคีเลตในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เพื่อคาดหวังในเรื่องของการเพิ่มสมรรถภาพการผลิตและส่งเสริมสุขภาพสัตว์ให้ดีขึ้น (Salim et al., 2010)
📌ในปัจจุบันมีการใช้แร่ธาตุหลายชนิดในรูปแบบของคีเลต ได้แก่ สังกะสี ซีลีเนียม เหล็ก ทองแดง และแมงกานีส เป็นต้น
📌 ยกตัวอย่างกระบวนการดูดซึมและการใช้ประโยชน์ได้ของแร่ธาตุสังกะสีกรดอะมิโนคีเลต (ZnAA) เปรียบเทียบกับแร่ธาตุสังกะสีทั่วไป ดังนี้
จากงานวิจัยของ Sauer et al. (2017) ได้มีการรายงานเกี่ยวกับกระบวนการขนส่ง Zinc amino acid (ZnAA) ซึ่งจะถูกขนส่งเข้าสู่ภายในเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้ผ่านทาง Amino acid transporter ของกรดอะมิโนชนิดนั้นๆ เนื่องจากโครงสร้างของ ZnAA ไม่ได้มีความแตกต่างจากโครงสร้างของกรดอะมิโนมากเท่าใด และในส่วนของธาตุสังกะสีทั่วไปที่มาจากแหล่งอนินทรีย์จะเกิดการแตกตัวได้ง่ายและอยู่ในรูปแบบโมเลกุล free zinc (Zn2+) ซึ่งจะถูกขนส่งผ่านทาง zinc transporter นอกจากนั้นยังพบว่า Zn2+ จะอยู่ภายใต้การควบคุมสมดุลของระดับธาตุสังกะสีภายในเซลล์ ทำให้มีแนวโน้มที่จะถึงจุดอิ่มตัวได้ง่ายและมีโอกาสที่จะถูกขับทิ้งออกจากร่างกายได้ง่ายกว่า ในขณะที่ ZnAA มีแนวโน้มที่จะถึงจุดอิ่มตัวได้ยากกว่า เนื่องจากอยู่นอกเหนือภายใต้การควบคุมสมดุลของระดับธาตุสังกะสีภายในเซลล์ รวมทั้งยังมีความสามารถในการควบคุมสมดุลเมื่อเผชิญกับปัจจัยต่อต้าน (antagonistic factor) ได้ดีกว่า เนื่องจากมีโครงสร้างโมเลกุลที่ค่อนข้างเสถียร (ณหทัย, 2021)
จึงสรุปได้ว่า แร่ธาตุคีเลต…
✅สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายสัตว์ได้มากกว่า
✅คงอยู่ในร่างกายได้นานกว่าแร่ธาตุทั่วไป
✅สัตว์ใช้แร่ธาตุคีเลตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดีและสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย
📌หากสนใจติดต่อ ผ่านทางลิงค์นี้ค่ะ https://lin.ee/Z8tJPWD
#ASPRuminantValue
#มอบคุณค่าแก่เกษตรกรไทย
#BeefCattle
#DairyCow
#ASPRuminant
#ผู้จำหน่ายเวชภัณฑ์และสารเสริมในสัตว์เคี้ยวเอื้อง