ปรสิตที่สำคัญในสุกร Ep.๑ พยาธิไส้เดือนสุกร
- Ascaris suum หรือ พยาธิไส้เดือนสุกร
- เป็นพยาธิในทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยที่สุด (ประมาณ 50-75%)
- เป็นพยาธิชนิดตัวกลมขนาดใหญ่ ต้วผู้ยาว 15-25 ชม. และกว้าง 3-4 มม. ตัวเมียยาว 20-40 ชม. และกว้าง 5-6 มม.
- ไข่พยาธิ หากส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ มีลักษณะ เปลือกไข่หนา เปลือกชั้นนอกจะขรุขระ ไข่มีสีเหลืองน้ำตาล
ตัวแก่ในลำไส้เล็กàไข่ปนออกมากับอุจจาระลงสู่พื้นดินàกินไข่พยาธิระยะติดต่อàฟักตัวในลำไส้àปล่อยพยาธิระยะ L2 ออกมา à ฝังตัวในลำไส้àไปตับโดยทาง hepato-portal blood streamà เข้าสู่ตับ ตัวอ่อนระยะ L2 ลอกคราบเป็น L3àไปยังหัวใจàไปยังปอด L3 ลอกคราบเป็น L4àไชทะลุถุงลมàหลอดลมฝอยàหลอดลมเล็กà หลอดลมใหญ่àไปบริเวณคอหอยàกลืนเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารàลอกคราบ L4 เป็น L5 ที่ลำไส้
อาการทางคลินิกและรอยโรค (Clinical signs & Lesions)
- เนื่องจากการติดพยาธิไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการตายของสุกร แต่การติดพยาธินั้นสามารถส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตของสุกรได้ เช่น กระทบต่อการเจริญเติบโตทำให้ประสิทธิภาพการใช้อาหารของสุกรลดลง (FCR สูงขึ้น)และอีกทั้งสามารถเกิดการอุดตันของลำไส้ได้ในกรณีที่มีการติดพยาธิอย่างรุนแรง แต่พบเจอได้ไม่บ่อยนัก
- การเคลื่อนตัวของพยาธิในส่วนของตับ สามารถก่อให้เกิดภาวะเลือดออก (Hemorrhage) และมีการอักเสบเกิดขึ้น ทำให้เกิดการสะสมของเม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte ร่วมกับการเกิดการเจริญของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Fibrosis) ทำให้สามารถมองเห็นเนื้อตับเป็นจุดสีขาว เรียกว่า “Milk spot” ซึ่งวิการซึ่งจะสามารถพบได้ภายหลังการติดเชื้อแล้ว 7-10 วันและจะค่อยๆ หายไปภายใน 1-4 สัปดาห์
- ในกรณีที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง ตัวอ่อนของพยาธิที่เคลื่อนตัวไปยังปอด สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) และเนื้อปอดหนาตัว (Lung consolidation) ได้
การวินิจฉัย (Diagnosis)
- การวินิจฉัยจากอาการ ประสิทธิภาพการผลิตและการผ่าซาก
- การทำ Fecal floatation
การรักษา (Treatment)
- สามาถใช้ยาผสมอาหาร Asvermec Ò (Ivermectin 0.6%) โดส 0.33-1.67 กิโลกรัม/ตันอาหาร ตามตารางดังนี้
- สำหรับยาชนิดอื่นๆ ที่สามารถกำจัดพยาธิได้ เช่น benzimidazoles probenzimidazoles, dichlorvos, , doramectin และ pyrantel เป็นต้น