Open/Close Menu ผู้นำทางด้าน แอนิมัล เฮลท์

น้ำและอาหาร จัดการอย่างไรดี ไม่ให้เป็นความเสี่ยงต่อ ASF!!!

ปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งที่สำคัญสามารถนำโรค ASF หรือโรคอื่น ๆ เข้าสู่ฟาร์มได้คือ อาหารและน้ำ เนื่องจากต้องอาศัยแหล่งภายนอกนำเข้ามาใช้ในฟาร์ม หากปนเปื้อนเชื้อ เมื่อได้รับโดยตรงด้วยการกินก็สามารถทำให้สัตว์แสดงอาการ และตรวจพบผล (+) ทางห้องปฏิบัติการได้ ยกตัวอย่างเช่น น้ำ หากมีเชื้อ ASF ปนเปื้อนเข้ามาแม้เพียง 1 ตัว ดังนั้นเราจะจัดการอย่างไรเพื่อไม่ให้มีโอกาสนำเชื้อเข้ามา หรือลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด มาลองดูกัน

อาหาร ต้องทำการตรวจสอบตั้งแต่

  1. 1. วัตถุดิบ/อาหารสำเร็จ หากฟาร์มทำการผสมเอง การตรวจสอบควรดูตั้งแต่ แหล่งวัตถุดิบ การจัดเก็บ และผลการตรวจสอบการปนเปื้อเชื้อที่เป็นผล (-) ก่อนการรับเข้า หลังจากวัตถุดิบมาถึงให้ทำการสุ่มตรวจอีกครั้ง ผลเป็น (-) จึงจะมั่นใจ รับและนำเข้าจัดเก็บ
  2. 2. การจัดเก็บภายหลังจากการรับเข้าทำการอบฆ่าเชื้อด้วยวิธีการรมควัน (Fumigation) ทิ้งไว้ 3 วันหรือตามข้อบ่งใช้ของสารที่ใช้ หลังจากนั้นจึงนำไปทำการผลิตได้
  3. 3. กระบวนการผลิตอาหาร สามารถฆ่าเชื้อได้หากมีการหลุดรอดมาจากตรวจสอบเบื้องต้น โดยใช้สารเสริมฆ่าเชื้อ เช่น SALTEC 512 หรือตัวอื่นๆ ที่ระบุว่าฆ่าเชื้อ ASF ได้ นอกจากนั้นการอัดเม็ดด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ 80⁰C เป็นเวลา 2 นาทีก็สามารถฆ่าเชื้อได้บางส่วน
  4. 4. หลังจากผลิตเสร็จสุ่มตรวจหาเชื้อ ASF อีกครั้ง ผลเป็น (-) สามารถนำไปให้สุกรกินได้ตามปกติ

น้ำสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์

น้ำกินหรือน้ำใช้ในฟาร์มมาจากหลายๆ แหล่งทั้ง ผิวดิน หรือใต้ดิน ฟาร์มควรมีการบำบัดน้ำด้วยการฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนมากับแหล่งน้ำภายนอก เช่น ระบบการกรอง หรือระบบประปา ซึ่งควรจะต้องปลอดภัยต่อตัวสุกรด้วย สำหรับสารฆ่าเชื้อยกตัวอย่างที่ทางการประเทศจีนระบุไว้ได้แก่ สารPotassium peroxymonosulfate (KPMS; Oxipro®) หรือ คลอรีนไดออกไซด์ (ClO2) นอกจากนี้จีนยังแนะนำให้ใช้ระบบการกรองแบบ WPS (Water Purification System) ด้วย

CategoryiTAC, Article

For customer        02-937-4888