โรคปากเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease หรือ FMD) เป็นโรคระบาดในสัตว์กีบคู่ (เช่น สุกร โค กระบือ แพะ แกะ เป็นต้น) ที่ร้ายแรง ติดต่อได้ง่าย และแพร่กระจายในอากาศได้ระยะทางหลายกิโลเมตร โดยสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสสกุล Aphtovirus ในวงศ์ Picornaviridae โดยในปัจจุบัน serotype ที่เคยพบระบาดในประเทศไทย ได้แก่ serotype A, serotype O และ serotype Asia – 1 (Chaisrisongkram, 1993 อ้างโดย เทิดศักดิ์ ญาโน และคณะ 2556)

เมื่อสุกรได้รับเชื้อ Foot and Mouth Disease Virus (FMDV) ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง จะพบเม็ดตุ่มใสบริเวณลิ้นหรืออุ้งเท้า หลังจากนั้น 2 – 3 วัน เม็ดตุ่มจะเริ่มแตกออก และเกิดการลอกหลุดของเยื่อเมือก ภายใน 4 – 5 วัน และรอยแผลจะเริ่มจางหายเมื่อผ่านไป 7 วัน

สุกรสามารถติดเชื้อ FMDV จากทางบาดแผล การหายใจนำเชื้อที่ปะปนอยู่ในอากาศ หรือ จากการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน การป้องกันและการควบคุมโรคที่ดีที่สุด คือ ทำลายสัตว์ป่วยทิ้งทันที ควบคุมการเคลื่อนย้าย ควบคุมการเข้า – ออกฟาร์มของบุคลากรอย่างเคร่งครัด และเพิ่มการเฝ้าระวังโรค(วิไล สินจงสุบงกช)

ผู้เลี้ยงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันของโรค FMD ให้กับสุกรได้โดยการทำวัคซีน โดยชนิดของวัคซีนต้องตรงกับสายพันธุ์ของไวรัสที่มีการระบาดในพื้นที่นั้นๆ

(ที่มาของรูป: Clinical variation in foot and mouth disease: Pigs – Soren Alexandersen)

CategoryArticle, หมู

โรคปากเท้าเปื่อย (Foot and Mouth Disease หรือ FMD) เป็นโรคระบาดในสัตว์กีบคู่ (เช่น สุกร โค กระบือ แพะ แกะ เป็นต้น) ที่ร้ายแรง ติดต่อได้ง่าย และแพร่กระจายในอากาศได้ระยะทางหลายกิโลเมตร โดยสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสสกุล Aphtovirus ในวงศ์ Picornaviridae โดยในปัจจุบัน serotype ที่เคยพบระบาดในประเทศไทย ได้แก่ serotype A, serotype O และ serotype Asia – 1 (Chaisrisongkram, 1993 อ้างโดย เทิดศักดิ์ ญาโน และคณะ 2556)

เมื่อสุกรได้รับเชื้อ Foot and Mouth Disease Virus (FMDV) ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง จะพบเม็ดตุ่มใสบริเวณลิ้นหรืออุ้งเท้า หลังจากนั้น 2 – 3 วัน เม็ดตุ่มจะเริ่มแตกออก และเกิดการลอกหลุดของเยื่อเมือก ภายใน 4 – 5 วัน และรอยแผลจะเริ่มจางหายเมื่อผ่านไป 7 วัน

สุกรสามารถติดเชื้อ FMDV จากทางบาดแผล การหายใจนำเชื้อที่ปะปนอยู่ในอากาศ หรือ จากการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อน การป้องกันและการควบคุมโรคที่ดีที่สุด คือ ทำลายสัตว์ป่วยทิ้งทันที ควบคุมการเคลื่อนย้าย ควบคุมการเข้า – ออกฟาร์มของบุคลากรอย่างเคร่งครัด และเพิ่มการเฝ้าระวังโรค(วิไล สินจงสุบงกช)

ผู้เลี้ยงสามารถสร้างภูมิคุ้มกันของโรค FMD ให้กับสุกรได้โดยการทำวัคซีน โดยชนิดของวัคซีนต้องตรงกับสายพันธุ์ของไวรัสที่มีการระบาดในพื้นที่นั้นๆ

(ที่มาของรูป: Clinical variation in foot and mouth disease: Pigs – Soren Alexandersen)

🎈3กรณีศึกษา ที่คนในแวดวงสุกรต้องรู้ ถ้าไม่อยากเอ้าท์🐷🐖
ด่วน!! รับไม่เกิน 300 คนเท่านั้น
👉เครือเวทโปรดักส์ ขอเชิญเข้าร่วมงานสัมนา
” จัดกระบวนทัพ ปรับกลยุทธกับที่สุด 3 กรณีศึกษา ” 💯
1️⃣ กรณีศึกษา : ต้นทุนพุ่ง ราคาหมูแกว่ง หมูไทย หมูอินเตอร์ ต้องขายน้ำหนักเท่าไร ถึงกำไรสูงสุด
🔸️รู้มั้ย!! ถ้าต้นทุนขยับ ราคาหมูปรับ ต้องขายกี่โล ถึงกำไรสูงสุด
🔹️ความเชื่อ !! ราคาอย่างนี้ ขายหมูยิ่งใหญ่ยิ่งดี ยิ่งกำไร จริงเหรอ?
2️⃣ กรณีศึกษา : จีน เวียดนาม กลับมาอย่างไร หลังโดน ASF
🔸️รู้มั้ย!! เค้าโดน ASF ก่อนไทย เค้าทำไงถึงกลับมา
🔹️ความเชื่อ !! กดต้นทุนการผลิตให้ต่ำเข้าไว้ ถึงรอด จริงเหรอ?
3️⃣ กรณีศึกษา : Update! ASF Vaccine จากค่ายต่างๆ
🔸️รู้มั้ย !! แต่ละค่ายเค้าไปถึงไหน , วัคซีน AVAC จากเวียดนามจะผ่าน อย เป็นตัวที่ 2 เทียบชั้นกับ Navetco ใครเป็นต่อ
🔹️ความเชื่อ !! วัคซีน ASF ยังเป็นทางออก ทางรอด จริงหรือ?
📌 26 กรกฎาคม เวลา 13.00 น
ZOOM พร้อมกันทั่วโลก
💥พลาดไม่ได้จริงๆ สำหรับงานนี้
ลงทะเบียนได้เลยตามฟอร์มด้านล่างนี้

👉หรือติดต่อ ฝ่ายขายและการตลาดเครือเวทโปรดักส์​ หรือลงทะเบียนที่ลิงค์​ –> https://forms.gle/a9AzWNkSkbgzPpg59  🙏🙏🙏

For customer        02-937-4888