Open/Close Menu ผู้นำทางด้าน แอนิมัล เฮลท์

Aqua success story EP. 22

เรื่อง “ เลี้ยงกุ้งไซส์ใหญ่ วันสั้น ตันเยอะ ลดต้นทุนได้ถูกจุด “

โดย คุณมัณฑนา ช่างยนต์ (อุ๊)
ฝ่ายขายเขต ภาคกลาง ทีม ASP AQUA

ในสภาวะสงครามที่ยังไม่จบสิ้น ต้นทุนในการผลิตกุ้งเพิ่มสูงขึ้น ทั้งน้ำมัน อาหาร ค่าไฟฟ้า รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ข้าวของแพงขึ้นแต่เลี้ยงกุ้งยากขึ้น
เนื่องด้วยเชื้อ EHP ที่ยังคงสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
เมื่อกุ้งติดเชื้อ EHP แล้ว หากไม่มีการตรวจติดตามโรค อาการแสดงออกมาว่ากุ้งไม่โต ก็อายุร่วม 60 วันแล้ว หรือเจออาการขี้ขาว ก็มักพบลักษณะตับเสียหายไปมาก และต้องใช้เวลาค่อนข้างนานในการฟื้นฟูสภาพตับให้กลับมาสุขภาพดี และทำงานเป็นปกติ อัตราการแลกเนื้อจึงจะกลับมา

ดังนั้น เมื่อตับกุ้งเสียหายจากการทำลายของเชื้อก่อโรคทั้งเชื้อ EHP และเชื้อแบคทีเรียวิบริโอ ก็จะทำให้การเลี้ยงในครอปนั้นๆ กินเวลายาวนานขึ้น เราจึงเสียต้นทุนในการเลี้ยงเพิ่มมากขึ้นทั้งค่าไฟ ค่าอาหาร และค่าแรงงาน

📌จากสถานการณ์แบบนี้ทางทีมจึงได้ทำการเก็บข้อมูลการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง จ.สมุทรสาคร เปรียบเทียบ 2 ครอปการเลี้ยง เพื่อดูต้นทุนในการเลี้ยงกุ้ง
▪️ขนาดบ่อ 1.5 ไร่
▪️อัตราปล่อย 1.5 แสนตัวในครอปที่ 3 และ 2 แสนตัวในครอปที่ 4

ทั้ง 2 ครอปของการเลี้ยง พบว่า
🟢การเลี้ยงกุ้งให้ได้ไซส์ใหญ่ขนาด 40 ตัว/กิโลกรัมลงมา จะทำให้
> ขายกุ้งได้ราคาดีกว่า และน้ำหนักต่อตัวกุ้งที่เพิ่มขึ้นทำให้ได้ผลผลิตต่อบ่อที่มากขึ้น จึงสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้
> ดูได้จากครอปที่ 3 ที่กุ้งจะมีน้ำหนักเฉลี่ย 20 กรัม/ตัวขึ้นไป ต้องเลี้ยงกุ้งจนถึงอายุ 70 วัน

🟠แต่ในครอปที่ 4 เกษตรกรสามารถเลี้ยงกุ้งให้มีน้ำหนักเฉลี่ยมากกว่า 20 กรัม/ตัว ใช้เวลาเพียงแค่ 60 วัน
เมื่อเลี้ยงกุ้งจนจบครอปพบว่าสามารถลดปริมาณอาหารช่วงปลายและค่าไฟไปได้ถึง 19 วัน ซึ่งถือเป็นเงินมูลค่าหลักหมื่น และผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 1.6 ตัน ก็เพิ่มกำไรให้กับเกษตรกรเป็นหลักแสนกันเลยทีเดียว

🛎เคล็ดลับสำคัญในการเลี้ยงกุ้งด้วยวิธีนี้ คือ
1. ป้องกันการเกิดโรคในกุ้งทุกชนิด เพื่อไม่ให้ตับกุ้งมาเสียเวลาซ่อมแซมและฟื้นฟูตับที่เสียหาย จนทำให้การเจริญเติบโตต่อวันโตช้าลง (ADG) โดย
– หากตรวจพบเชื้อ EHP ใช้ผลิตภัณฑ์ลดเชื้อ EHP (Mycoherb,ไมโครเฮิร์บ) 5-10 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม คลุกผสมอาหาร
– หากตรวจพบเชื้อแบคทีเรียวิบริโอเกิน 1,000 CFU/ml ใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพร(Expo,เอ็กซ์โป) 5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม คลุกผสมอาหาร

2. เพิ่มอัตราการแลกเนื้อให้กับกุ้งด้วยผลิตภัณฑ์เอนไซม์(Asmeco,แอสมีโค) 10 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ซึ่งเอนไซม์แอสมีโคจะทำหน้าที่
🔍ช่วยย่อยโปรตีนจากพืชและสัตว์ที่มีในอาหารให้กุ้งได้รับโปรตีนจากอาหารได้มากยิ่งขึ้น
🔍 กุ้งจะได้เนื้อเพิ่มมากขึ้นจากการกินอาหาร 1 กิโลกรัมเท่ากัน โดยเก็บผลจากค่าการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) และการย่อยดีขึ้น (ดูจากของเหลือในขี้กุ้ง)
🔍เอนไซม์แอสมีโคยังสามารถช่วยจัดการสารต้านโภชนาการที่มีในถั่วเหลืองได้ด้วย จึงทำให้ลักษณะโครงสร้างเม็ดไขมันเป็นปกติ และลดอาการ ATM ลง
ดังนั้นการใช้เอนไซม์แอสมีโค จึงเป็นการช่วยปรับโภชนาการโปรตีนที่ดีให้กับกุ้ง จึงทำให้กุ้งโตไว ไซส์ใหญ่ขึ้น ลดการสูญเสียโปรตีนไปเป็นของเสียในบ่อได้อีกด้วย

3. การควบคุมดูแลคุณภาพน้ำและสารอินทรีย์ในบ่อ เพื่อลดความเครียดและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคให้กับกุ้ง
โดยควบคุม
‼️พีเอชในรอบวันให้อยู่ในช่วง 7.7-8.0
‼️ค่าอัลคาไลน์ไม่ต่ำว่า 130 ppm
‼️ค่าแอมโมเนียและไนไตรท์ไม่เกิน 1.0 ppm
‼️ความโปร่งใสของน้ำควรอยู่ที่ 40 เซนติเมตร
เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณแพลงก์ตอนและตะกอนแขวนลอยในบ่อ (สารอินทรีย์) ไม่ให้มากจนสร้างความเสียหายได้

🔑🔑🔑Key success story คือ
✅ ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคทำลายสุขภาพตับกุ้ง ทั้งเชื้อ EHP และแบคทีเรียวิบริโอ
✅ การเสริมเอนไซม์ในอาหารเพื่อช่วย เพิ่มการย่อยได้ของโปรตีนจากอาหารกุ้งให้มากขึ้น จะทำให้กุ้งโตเร็วขึ้น ประหยัดการใช้อาหารช่วงปลายการเลี้ยง และลดการเกิดอาการ ATM ลดของเสียจากขี้กุ้งสู่บ่อ

เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เกษตรกรสามารถเลี้ยงกุ้งได้ตามเป้าหมายที่คาดหวังแลำกำไรที่ยั่งยืนต่อไปในการเลี้ยงกุ้ง ขอให้เกษตรกรทุกท่านเฮงๆ รวยๆ ตลอดไปนะคะ

📌สามารถติดตามข่าวสารได้ที่
Line@ :@asp-aqua
คลิ๊ก https://lin.ee/yF83Pvx

#แอสมีโค
#Asmeco
#Aquaculture
#ASPAQUA
#ตอบโจทย์ทุกปัญหาเรื่องสัตว์เลี้ยงและฟาร์มปศุสัตว์
#VetProductsGroup

CategoryAqua, ASP, กุ้ง, Article, BU

For customer        02-937-4888