โรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังในเป็ด ตอนที่ 1 By ทีมวิชาการไอแทค

เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ใครที่เลี้ยงเป็ดก็ต้องเฝ้าระวังสุขภาพเป็ดกันมากขึ้น โดยโรคที่สำคัญในเป็ดที่สามารถพบได้บ่อย ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

  1. โรคนิวดั๊กซินโดรมหรือโรคเป็ดกลิ้ง (New Duck Syndrome) ซึ่งจะสามารถพบอาการซึม มีเสียงหวัด หัวสั่น ชัก ทรงตัวไม่ได้ และตายในที่สุด
  2. โรคกาฬโรคเป็ดหรือดั๊กเพล็ก (Duck Plaque) ที่จะพบเป็ดมีอาการท้องเสีย หน้าบวม หากรุนแรงอาจพบเป็ดตายได้เช่นกัน
  3. โรคไซนัสอักเสบ (Sinusitis) ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดหนองในโพรงจมูก
  4. โรคอหิวาต์เป็ด (Fowl Cholera) เป็ดจะซึม ไม่กินอาหาร มีไข้สูง น้ำมูกน้ำตาไหล อาจพบการตายอย่างรวดเร็วเนื่องจากติดเชื้อทั่วร่างกาย
  5. โรคลำไส้อักเสบเนื่องจากพาร์โวไวรัส (Parvovirus Infection) ทำให้เป็ดซึม ถ่ายเหลว พบความรุนแรงในเป็ดอายุน้อย
  6. โรคตับอักเสบติดต่อ (Duck Viral Hepatitis) โรคนี้ก่อความรุนแรงในลูกเป็ด มักจะทำให้เป็ดซึม มีอาการทางระบบประสาท และชักตาย
  7. สารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxicosis) ซึ่งในเป็ดจะมีความรุนแรงมากกว่าสัตว์ปีกอื่นๆ โดยจะพบตับอักเสบและแข็งตัว อวัยวะภายในเสียหาย และทำให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตในเป็ดไข่

ดังนั้นผู้เลี้ยงเป็ดควรใส่ใจในเรื่องความสะอาด การสุขาภิบาลภายในฟาร์มให้มากขึ้น เฝ้าระวังไม่ให้เกิดการสะสมแก๊สแอมโมเนีย และไม่เลี้ยงเป็ดที่หนาแน่นจนเกินไป รวมถึงให้วัคซีนโรคที่สำคัญตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ก็จะช่วยให้เป็ดมีสุขภาพที่ดีได้

#เป็ด #โรคเป็ด #นิวดั๊กซินโดรม #โรคเป็ดกลิ้ง #กาฬโรคเป็ด #อหิวาต์เป็ด #พาร์โวไวรัสเป็ด #ตับอักเสบเป็ด #ทีมวิชาการไอแทค #iTACTeam #VetProductsGroup

CategoryArticle, iTAC, ไก่

โรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังในเป็ด ตอนที่ 1 By ทีมวิชาการไอแทค

เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ใครที่เลี้ยงเป็ดก็ต้องเฝ้าระวังสุขภาพเป็ดกันมากขึ้น โดยโรคที่สำคัญในเป็ดที่สามารถพบได้บ่อย ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

  1. โรคนิวดั๊กซินโดรมหรือโรคเป็ดกลิ้ง (New Duck Syndrome) ซึ่งจะสามารถพบอาการซึม มีเสียงหวัด หัวสั่น ชัก ทรงตัวไม่ได้ และตายในที่สุด
  2. โรคกาฬโรคเป็ดหรือดั๊กเพล็ก (Duck Plaque) ที่จะพบเป็ดมีอาการท้องเสีย หน้าบวม หากรุนแรงอาจพบเป็ดตายได้เช่นกัน
  3. โรคไซนัสอักเสบ (Sinusitis) ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดหนองในโพรงจมูก
  4. โรคอหิวาต์เป็ด (Fowl Cholera) เป็ดจะซึม ไม่กินอาหาร มีไข้สูง น้ำมูกน้ำตาไหล อาจพบการตายอย่างรวดเร็วเนื่องจากติดเชื้อทั่วร่างกาย
  5. โรคลำไส้อักเสบเนื่องจากพาร์โวไวรัส (Parvovirus Infection) ทำให้เป็ดซึม ถ่ายเหลว พบความรุนแรงในเป็ดอายุน้อย
  6. โรคตับอักเสบติดต่อ (Duck Viral Hepatitis) โรคนี้ก่อความรุนแรงในลูกเป็ด มักจะทำให้เป็ดซึม มีอาการทางระบบประสาท และชักตาย
  7. สารพิษจากเชื้อรา (Mycotoxicosis) ซึ่งในเป็ดจะมีความรุนแรงมากกว่าสัตว์ปีกอื่นๆ โดยจะพบตับอักเสบและแข็งตัว อวัยวะภายในเสียหาย และทำให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตในเป็ดไข่

ดังนั้นผู้เลี้ยงเป็ดควรใส่ใจในเรื่องความสะอาด การสุขาภิบาลภายในฟาร์มให้มากขึ้น เฝ้าระวังไม่ให้เกิดการสะสมแก๊สแอมโมเนีย และไม่เลี้ยงเป็ดที่หนาแน่นจนเกินไป รวมถึงให้วัคซีนโรคที่สำคัญตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ ก็จะช่วยให้เป็ดมีสุขภาพที่ดีได้

#เป็ด #โรคเป็ด #นิวดั๊กซินโดรม #โรคเป็ดกลิ้ง #กาฬโรคเป็ด #อหิวาต์เป็ด #พาร์โวไวรัสเป็ด #ตับอักเสบเป็ด #ทีมวิชาการไอแทค #iTACTeam #VetProductsGroup

For customer        02-937-4888