ระบบการเลี้ยงสุกรแบบ ทูไซต์ (2site) และ ทรีไซต์ (3site)

ระบบการเลี้ยง 2site  เป็นการเลี้ยงสุกรใน 2 พื้นที่ พื้นที่แรกคือห้องคลอด-หย่านม และนำไปเลี้ยงต่อพื้นที่สองคือ หน่วยขุน ระบบนี้จะใช้คอกขุนเลี้ยงอนุบาล จนถึงขุนขาย สรุปตลอดการเลี้ยงจะทำการเคลื่อนย้ายแค่ 1 ครั้ง ระบบการผลิตแบบ 2site เหมาะกับสุกรรุ่นและสุกรขุนที่มีสุขภาพดี  จึงต้องมีการจัดการดูแลที่พิเศษและเคร่งครัดจากห้องคลอดถึงหย่านม ลูกสุกรต้องได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านนมน้ำเหลืองอย่างเพียงพอ และแม่สุกรต้องมาจากฝูงที่มีภูมิคุ้มกันสม่ำเสมอ และหลังจากหย่านมลงมาที่หน่วยขุนจะต้องมีเทคนิคและการจัดการที่เหมาะสมด้วย

ระบบการเลี้ยง 3site เป็นการเลี้ยงสุกรใน 3 พื้นที่ พื้นที่แรกคือ ห้องคลอด-หย่านม นำไปเลี้ยงต่อพื้นที่สองคือหน่วยอนุบาล แล้วย้ายไปเลี้ยงพื้นที่สามคือหน่วยขุนจนถึงขาย ระบบนี้จะมีการเคลื่อนย้าย 2 ครั้ง ระบบการเลี้ยงแบบ 3site นี้เพิ่มหน่วยอนุบาลเพื่อให้มีการเลี้ยงและการจัดการที่เหมาะสมกับช่วงอายุของสุกร แต่อย่างไรก็ตามวิธีการจัดการดูแล นั้นก็ยังคงต้องทำอย่างเคร่งครัดในทุกหน่วย เพราะหากมีการเคลื่อนย้ายสุกรบ่อยครั้ง จะทำให้เกิดความเครียดจากการเคลื่อนย้าย การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่อยู่ใหม่ กินอาหารที่เปลี่ยนสูตร ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสุกร และอาจจะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพต่อไป

CategoryArticle, หมู

ระบบการเลี้ยงสุกรแบบ ทูไซต์ (2site) และ ทรีไซต์ (3site)

ระบบการเลี้ยง 2site  เป็นการเลี้ยงสุกรใน 2 พื้นที่ พื้นที่แรกคือห้องคลอด-หย่านม และนำไปเลี้ยงต่อพื้นที่สองคือ หน่วยขุน ระบบนี้จะใช้คอกขุนเลี้ยงอนุบาล จนถึงขุนขาย สรุปตลอดการเลี้ยงจะทำการเคลื่อนย้ายแค่ 1 ครั้ง ระบบการผลิตแบบ 2site เหมาะกับสุกรรุ่นและสุกรขุนที่มีสุขภาพดี  จึงต้องมีการจัดการดูแลที่พิเศษและเคร่งครัดจากห้องคลอดถึงหย่านม ลูกสุกรต้องได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านนมน้ำเหลืองอย่างเพียงพอ และแม่สุกรต้องมาจากฝูงที่มีภูมิคุ้มกันสม่ำเสมอ และหลังจากหย่านมลงมาที่หน่วยขุนจะต้องมีเทคนิคและการจัดการที่เหมาะสมด้วย

ระบบการเลี้ยง 3site เป็นการเลี้ยงสุกรใน 3 พื้นที่ พื้นที่แรกคือ ห้องคลอด-หย่านม นำไปเลี้ยงต่อพื้นที่สองคือหน่วยอนุบาล แล้วย้ายไปเลี้ยงพื้นที่สามคือหน่วยขุนจนถึงขาย ระบบนี้จะมีการเคลื่อนย้าย 2 ครั้ง ระบบการเลี้ยงแบบ 3site นี้เพิ่มหน่วยอนุบาลเพื่อให้มีการเลี้ยงและการจัดการที่เหมาะสมกับช่วงอายุของสุกร แต่อย่างไรก็ตามวิธีการจัดการดูแล นั้นก็ยังคงต้องทำอย่างเคร่งครัดในทุกหน่วย เพราะหากมีการเคลื่อนย้ายสุกรบ่อยครั้ง จะทำให้เกิดความเครียดจากการเคลื่อนย้าย การเปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่อยู่ใหม่ กินอาหารที่เปลี่ยนสูตร ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อสุกร และอาจจะทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพต่อไป

Article

[vc_basic_grid post_type=”post” max_items=”12″ style=”pagination” items_per_page=”4″ element_width=”3″ arrows_design=”vc_arrow-icon-arrow_08_left” initial_loading_animation=”none” grid_id=”vc_gid:1641546088355-651ba1b9a67a1ab2edc9e023d4f978f9-9″]

For customer        02-937-4888