หลายคนอาจเคยสงสัย สำหรับการตรวจการตั้งท้องในสุกรสามารถทำอย่างไรได้บ้าง?? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ!

  1. การสังเกตการกลับสัด (Return Estrous): วิธีนี้เป็นวิธีที่ มักใช้กันทั่วไปในฟาร์ม โดยปกติการตัดสินว่าสุกรตั้งท้องหรือไม่ จะทราบภายหลังการผสมแม่สุกรไปแล้ว หากพบว่าแม่สุกรไม่กลับมาเป็นสัดอย่างน้อย 42 วัน หรือ 2 รอบของวงรอบการเป็นสัด เราจึงจะตัดสินใจว่าแม่สุกรตั้งท้องแล้ว
  2. การตรวจฮอร์โมน (Hormone assay): สามารถทำการตรวจได้ดังนี้

📌 การตรวจฮอร์โมน Estrone sulfate: สามารถตรวจสอบได้ในซีรั่ม 25-30 วันหลังผสม และต้องมีปริมาณฮอร์โมน > 2 ng/ml วิธีนี้มีความแม่นยำประมาณ 70%

📌 การตรวจฮอร์โมน Progesterone: สามารถตรวจสอบได้ในซีรั่ม 17 วันหลังผสม และต้องมีปริมาณฮอร์โมนมากกว่า 5 ng/ml วิธีนี้มีความแม่นยำประมาณ 90%

📌 การตรวจฮอร์โมน Prostaglandin: สามารถตรวจสอบได้ในซีรั่ม 13-15 วันหลังผสม และต้องมีปริมาณฮอร์โมนน้อยกว่า 200 pg/ml ซึ่งวิธีนี้มีความแม่นยำประมาณ 90%

  1. การตรวจทางสรีรวิทยาของแม่สุกร (Physical diagnosis) สามารถทำการตรวจได้ดังนี้

📌 การล้วงตรวจทางทวารหนัก (Rectal palpation): ตรวจได้ตั้งแต่อายุท้อง 30 วันขึ้นไป โดยการล้วงดูการเปลี่ยนแปลงการไหลของหลอดเลือดแดง ซึ่งตำแหน่งที่ทำการตรวจจะเป็นตำแหน่งที่มีการตัดของหลอดเลือด External iliac artery และ เส้นเลือด Middle Uterine artery โดยมีเกณฑ์ดังนี้

  • หลอดเลือดขนาดประมาณ 2-3 mm ถือว่าไม่ท้อง
  • หลอดเลือดขนาด 5-10 mm และมีอัตราการไหลของหลอดเลือดมากขึ้น จะตัดสินว่าสุกรตั้งท้องแล้ว วิธีนี้มีความแม่นยำ 80-100% แต่ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ตรวจด้วย

(ที่มา: Reproduction-Bioscientifica)

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายวิธีในการตรวจการตั้งท้องสุกร อย่าลืมมาติดตามกันต่อใน Ep.2 นะคะ

CategoryArticle, หมู

หลายคนอาจเคยสงสัย สำหรับการตรวจการตั้งท้องในสุกรสามารถทำอย่างไรได้บ้าง?? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ!

  1. การสังเกตการกลับสัด (Return Estrous): วิธีนี้เป็นวิธีที่ มักใช้กันทั่วไปในฟาร์ม โดยปกติการตัดสินว่าสุกรตั้งท้องหรือไม่ จะทราบภายหลังการผสมแม่สุกรไปแล้ว หากพบว่าแม่สุกรไม่กลับมาเป็นสัดอย่างน้อย 42 วัน หรือ 2 รอบของวงรอบการเป็นสัด เราจึงจะตัดสินใจว่าแม่สุกรตั้งท้องแล้ว
  2. การตรวจฮอร์โมน (Hormone assay): สามารถทำการตรวจได้ดังนี้

📌 การตรวจฮอร์โมน Estrone sulfate: สามารถตรวจสอบได้ในซีรั่ม 25-30 วันหลังผสม และต้องมีปริมาณฮอร์โมน > 2 ng/ml วิธีนี้มีความแม่นยำประมาณ 70%

📌 การตรวจฮอร์โมน Progesterone: สามารถตรวจสอบได้ในซีรั่ม 17 วันหลังผสม และต้องมีปริมาณฮอร์โมนมากกว่า 5 ng/ml วิธีนี้มีความแม่นยำประมาณ 90%

📌 การตรวจฮอร์โมน Prostaglandin: สามารถตรวจสอบได้ในซีรั่ม 13-15 วันหลังผสม และต้องมีปริมาณฮอร์โมนน้อยกว่า 200 pg/ml ซึ่งวิธีนี้มีความแม่นยำประมาณ 90%

  1. การตรวจทางสรีรวิทยาของแม่สุกร (Physical diagnosis) สามารถทำการตรวจได้ดังนี้

📌 การล้วงตรวจทางทวารหนัก (Rectal palpation): ตรวจได้ตั้งแต่อายุท้อง 30 วันขึ้นไป โดยการล้วงดูการเปลี่ยนแปลงการไหลของหลอดเลือดแดง ซึ่งตำแหน่งที่ทำการตรวจจะเป็นตำแหน่งที่มีการตัดของหลอดเลือด External iliac artery และ เส้นเลือด Middle Uterine artery โดยมีเกณฑ์ดังนี้

  • หลอดเลือดขนาดประมาณ 2-3 mm ถือว่าไม่ท้อง
  • หลอดเลือดขนาด 5-10 mm และมีอัตราการไหลของหลอดเลือดมากขึ้น จะตัดสินว่าสุกรตั้งท้องแล้ว วิธีนี้มีความแม่นยำ 80-100% แต่ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ตรวจด้วย

(ที่มา: Reproduction-Bioscientifica)

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายวิธีในการตรวจการตั้งท้องสุกร อย่าลืมมาติดตามกันต่อใน Ep.2 นะคะ

Article

[vc_basic_grid post_type=”post” max_items=”12″ style=”pagination” items_per_page=”4″ element_width=”3″ arrows_design=”vc_arrow-icon-arrow_08_left” initial_loading_animation=”none” grid_id=”vc_gid:1641546088355-651ba1b9a67a1ab2edc9e023d4f978f9-9″]

For customer        02-937-4888