มาลาเรียหนึ่งในความเสี่ยงในการเลี้ยงไก่ไข่

ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ ระบบการเลี้ยงในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงในระบบปิดหรือระบบอีแวป(EVAP) ซึ่งปรับมาจากระบบเปิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง ปริมาณผลผลิตไข่ ควบคุมในเรื่องของโรคและระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการป้องกันโรคได้ดีกว่า

แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงระบบปิดเรายังคงพบรอยโรคที่บ่งบอกถึงอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมาลาเรียอยู่บ่อยครั้ง การสุ่มเก็บตัวอย่างด้วยวิธีการ blood smear ในโรงเรือนระบบปิด ยังพบเชื้อ Plasmodium spp.ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรียอยู่เป็นประจำ บ่งบอกว่าปัญหาของโรคมาลาเรียยังสามารถพบได้และไม่ควรมองข้าม

โรคมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium spp. ทำให้เกิดความผิดปกติของเลือดและอวัยวะอื่นๆ อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง (anemia) จากการสูญเสียเม็ดเลือดแดง ซึ่งกระทบต่อสุขภาพและอาจทำให้เกิดการสูญเสียในฝูงได้

ดังนั้นจากปัจจัยดังกล่าวเราควรให้ความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย หากเราพบว่าในฟาร์มเกิดความเสียหายหรือผลผลิตไข่ลดลงจากปกติ ควรมีการสุ่มผ่าซากหรือเก็บตัวอย่างเพื่อประเมินสถานะของโรคในฝูง ซึ่งหากพบว่าฟาร์มของเรามีเชื้อมาลาเรียอยู่ในฟาร์ม เราควรมีมาตรการและกระบวนการแก้ไขและป้องกันดังต่อไปนี้

  • กรณีพบโรคมาลาเรีย ยาที่สามารถใช้รักษาโรคได้คือ doxycycline ขนาด 50 mg/kg เป็นระยะเวลา 5 วันต่อเนื่อง หากใช้ขนาด (dose) ที่น้อยเกินไปจะไม่ได้ประสิทธิผลในการรักษา
  • เน้นควบคุมพาหะที่นำโรค ในกรณีของมาลาเรีย ยุงเป็นพาหะสำคัญ ฟาร์มควรมีการสำรวจและจัดการ เช่นกางมุ้งคลุม เน้นกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และควบคุมไม่ให้ยุงเข้าสู่โรงเรือน โดยเฉพาะช่วงเสี่ยงคือฤดูฝน
  • โปรแกรมการเฝ้าระวัง ควรมีการสุ่มตรวจโรคเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคมาลาเรียทุกเดือน เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนป้องกันโรคและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที

รูปแสดงพาหะนำโรคมาลาเรีย

รูปแสดงเชื้อ Plasmodium spp.

 

 

 

 

 

 

 

Article

[vc_basic_grid post_type=”post” max_items=”12″ style=”pagination” items_per_page=”4″ element_width=”3″ arrows_design=”vc_arrow-icon-arrow_08_left” initial_loading_animation=”none” grid_id=”vc_gid:1641546088355-651ba1b9a67a1ab2edc9e023d4f978f9-9″]

CategoryArticle, ไก่
Tags
Write a comment:

*

Your email address will not be published.


The reCAPTCHA verification period has expired. Please reload the page.

มาลาเรียหนึ่งในความเสี่ยงในการเลี้ยงไก่ไข่

ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ ระบบการเลี้ยงในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงในระบบปิดหรือระบบอีแวป(EVAP) ซึ่งปรับมาจากระบบเปิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง ปริมาณผลผลิตไข่ ควบคุมในเรื่องของโรคและระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในการป้องกันโรคได้ดีกว่า

แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงระบบปิดเรายังคงพบรอยโรคที่บ่งบอกถึงอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมาลาเรียอยู่บ่อยครั้ง การสุ่มเก็บตัวอย่างด้วยวิธีการ blood smear ในโรงเรือนระบบปิด ยังพบเชื้อ Plasmodium spp.ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมาลาเรียอยู่เป็นประจำ บ่งบอกว่าปัญหาของโรคมาลาเรียยังสามารถพบได้และไม่ควรมองข้าม

โรคมาลาเรียจากเชื้อ Plasmodium spp. ทำให้เกิดความผิดปกติของเลือดและอวัยวะอื่นๆ อาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง (anemia) จากการสูญเสียเม็ดเลือดแดง ซึ่งกระทบต่อสุขภาพและอาจทำให้เกิดการสูญเสียในฝูงได้

ดังนั้นจากปัจจัยดังกล่าวเราควรให้ความสำคัญในการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย หากเราพบว่าในฟาร์มเกิดความเสียหายหรือผลผลิตไข่ลดลงจากปกติ ควรมีการสุ่มผ่าซากหรือเก็บตัวอย่างเพื่อประเมินสถานะของโรคในฝูง ซึ่งหากพบว่าฟาร์มของเรามีเชื้อมาลาเรียอยู่ในฟาร์ม เราควรมีมาตรการและกระบวนการแก้ไขและป้องกันดังต่อไปนี้

  • กรณีพบโรคมาลาเรีย ยาที่สามารถใช้รักษาโรคได้คือ doxycycline ขนาด 50 mg/kg เป็นระยะเวลา 5 วันต่อเนื่อง หากใช้ขนาด (dose) ที่น้อยเกินไปจะไม่ได้ประสิทธิผลในการรักษา
  • เน้นควบคุมพาหะที่นำโรค ในกรณีของมาลาเรีย ยุงเป็นพาหะสำคัญ ฟาร์มควรมีการสำรวจและจัดการ เช่นกางมุ้งคลุม เน้นกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และควบคุมไม่ให้ยุงเข้าสู่โรงเรือน โดยเฉพาะช่วงเสี่ยงคือฤดูฝน
  • โปรแกรมการเฝ้าระวัง ควรมีการสุ่มตรวจโรคเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคมาลาเรียทุกเดือน เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนป้องกันโรคและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที

รูปแสดงพาหะนำโรคมาลาเรีย

รูปแสดงเชื้อ Plasmodium spp.

 

 

 

 

 

 

 

Article

[vc_basic_grid post_type=”post” max_items=”12″ style=”pagination” items_per_page=”4″ element_width=”3″ arrows_design=”vc_arrow-icon-arrow_08_left” initial_loading_animation=”none” grid_id=”vc_gid:1641546088355-651ba1b9a67a1ab2edc9e023d4f978f9-9″]

Write a comment:

*

Your email address will not be published.


The reCAPTCHA verification period has expired. Please reload the page.

For customer        02-937-4888