ประโยชน์ของระบบการผลิตสุกรแบบ เข้าหมด-ออกหมด (Allin Allout; AIAO)

ระบบการผลิตสุกรที่สำคัญต่อการจัดการฟาร์มสุกร และ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง มักจะนำระบบเข้าหมด-ออกหมด (All-in All-out; AIAO) มาใช้ในการผลิต ทั้งโรงเรือนเปิด และ โรงเรือนปิด โดยแบ่งการเลี้ยงสุกรออกเป็นระยะ ได้แก่ ระยะเข้าคลอด ระยะหย่านม ระยะผสม ระยะหลังหย่านม และ ระยะขุน ระบบนี้ต้องแบ่งแม่พันธุ์ในฝูงออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน แม่พันธุ์จะถูกเคลื่อนย้ายจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งหากระยะการเลี้ยงเปลี่ยนไป การย้ายต้องทําเป็นกลุ่มและมีช่วงเวลาที่แน่นอน บริเวณที่อยู่ของแต่ละระยะต้องเหมาะสมกับสรีระของสุกร ในการย้ายครั้งหนึ่งจะทําให้โรงเรือนบริเวณนั้นเต็ม และว่างลงในครั้งเดียว

ระบบ AIAO เป็นระบบที่ใช้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุกรทั่วไป มาออกแบบระบบให้สะดวกและง่ายต่อการปฏิบัติงานภายในฟาร์ม ทำให้การดูแลจัดการสุกรง่ายขึ้นไม่ยุ่งยาก ซึ่งก็จะมีความหลากหลายของวิธีการทํางาน และการให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความสามารถด้านการปฏิบัติของแต่ละฟาร์ม ซึ่งความเข้าใจในระบบและการนําไปใช้จริงจะทำให้ฟาร์มเกิดผลตอบแทน/กำไรที่มากขึ้น จึงกลายมาเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสุกรเลือกใช้

 

ประโยชน์ของระบบ AIAO สามารถแยกการทำงานตามส่วนการผลิตได้ดังต่อไปนี้

1.โรงเรือนคลอด

1.1.มีการจัดแม่พันธุ์เป็นกลุ่ม การหย่านมก็ทําเป็นกลุ่มง่ายต่อการตรวจสัดและกระตุ้นสัด แม่พันธุ์ถูกผสมและเข้าคลอดพร้อมกันเป็นชุด

1.2.เมื่อถึงเวลาคลอดแม่สุกรในกลุ่มเดียวกัน จะคลอดในเวลาไล่เลี่ยกันทําให้ย้ายฝากหรือฝากเลี้ยงลูกสุกรได้ง่าย

1.3.ระยะเวลาเลี้ยงลูกของแม่พันธุ์ไม่สั้นหรือยาวเกินไป นอกจากไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของลูกสุกรแล้ว แม่พันธุ์ยังไม่สูญเสียน้ำหนักมากจนทําให้กระทบต่อระบบสืบพันธุ์ในรอบการผลิตหน้าอีกด้วย

 

2.โรงเรือนผสม-อุ้มท้อง

2.1.สะดวกในการดูแลเอาใจใส่แม่พันธุ์ที่มีสถานภาพแตกต่างกัน ทําให้อัตราการผสมติดสูงขึ้นและลดจํานวนวันไม่ให้ผลผลิตลง

2.2.ฟาร์มที่ใช้การผสมเทียม สามารถคํานวณความต้องการน้ำเชื้อได้ล่วงหน้า

2.3.คาดการณ์จํานวนสุกรสาวที่ต้องทดแทนในฝูงได้ง่ายและเป้าผสมไม่ขาด

   3.โรงเรือนอนุบาล 2site และ สุกรขุน

3.1. การทําความสะอาดทําได้อย่างสมบูรณ์ (ไม่มีสุกรตกค้าง) และพักเล้าได้นานเท่าที่ต้องการเป็นการช่วยให้ลดโอกาสการเกิดโรคภายในฟาร์มได้อีกด้วย

3.2. ลดการติดเชื้อระหว่างสุกรต่างอายุที่อยู่รวมกัน

3.3. มีการใช้โรงเรือนอย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถวางแผน ขนาด จํานวน ตําแหน่งของสุกรได้ในครั้งเดียว และ สามารถลงจํานวนสุกรให้เหมาะกับพื้นที่การเลี้ยงตามมาตรฐานทั่วไปเพื่อให้มีความหนาแน่นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

3.4. ช่วยให้โปรแกรมการติดตามต่าง ๆ ระหว่างการขนส่งสะดวกและง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนอาหารตามระยะการเลี้ยง หรือ การวัดอัตราการเปลี่ยนอาหาร (FCR) และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) ซึ่งสามารถทําได้อย่างละเอียด

 

4.วางระบบหรือโครงสร้างการทํางานของคนในฟาร์มได้ง่าย

4.1. มีการวางแผนการปฏิบัติงาน วางตําแหน่งคนปฏิบัติและกระจายคนทํางานได้ดีกว่า ทําให้ประหยัดเวลาในการทํางาน

4.2. ในฟาร์มขนาดใหญ่ สามารถจัดคนทํางานที่มีความชํานาญเฉพาะด้านลงในตําแหน่งที่เหมาะสมได้

4.3. ลดวันทํางานลง ทําให้มีวันหยุดงานได้ในแต่ละสัปดาห์โดยเฉพาะ ฟาร์มระบบครอบครัวจะมีเวลาของครอบครัวมากขึ้น

เทคนิคการจัดการฟาร์มที่มุ่งประโยชน์สูงสุดของระบบ AIAO นี้ทําให้ผู้ดูแลฟาร์มสามารถประเมินผลการผลิตของสุกรแต่ละกลุ่มได้อย่างรวดเร็ว จึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้ระบบนี้ในฟาร์ม

#Key Success #การจัดการฟาร์ม

#iTACteam #ทีมวิชาการทางด้านฟาร์มปศุสัตว์ #สุกร #Swine

Article

[vc_basic_grid post_type=”post” max_items=”12″ style=”pagination” items_per_page=”4″ element_width=”3″ arrows_design=”vc_arrow-icon-arrow_08_left” initial_loading_animation=”none” grid_id=”vc_gid:1641546088355-651ba1b9a67a1ab2edc9e023d4f978f9-9″]

CategoryArticle, หมู

ประโยชน์ของระบบการผลิตสุกรแบบ เข้าหมด-ออกหมด (Allin Allout; AIAO)

ระบบการผลิตสุกรที่สำคัญต่อการจัดการฟาร์มสุกร และ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง มักจะนำระบบเข้าหมด-ออกหมด (All-in All-out; AIAO) มาใช้ในการผลิต ทั้งโรงเรือนเปิด และ โรงเรือนปิด โดยแบ่งการเลี้ยงสุกรออกเป็นระยะ ได้แก่ ระยะเข้าคลอด ระยะหย่านม ระยะผสม ระยะหลังหย่านม และ ระยะขุน ระบบนี้ต้องแบ่งแม่พันธุ์ในฝูงออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละเท่า ๆ กัน แม่พันธุ์จะถูกเคลื่อนย้ายจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณหนึ่งหากระยะการเลี้ยงเปลี่ยนไป การย้ายต้องทําเป็นกลุ่มและมีช่วงเวลาที่แน่นอน บริเวณที่อยู่ของแต่ละระยะต้องเหมาะสมกับสรีระของสุกร ในการย้ายครั้งหนึ่งจะทําให้โรงเรือนบริเวณนั้นเต็ม และว่างลงในครั้งเดียว

ระบบ AIAO เป็นระบบที่ใช้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการสุกรทั่วไป มาออกแบบระบบให้สะดวกและง่ายต่อการปฏิบัติงานภายในฟาร์ม ทำให้การดูแลจัดการสุกรง่ายขึ้นไม่ยุ่งยาก ซึ่งก็จะมีความหลากหลายของวิธีการทํางาน และการให้ผลตอบแทนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับความสามารถด้านการปฏิบัติของแต่ละฟาร์ม ซึ่งความเข้าใจในระบบและการนําไปใช้จริงจะทำให้ฟาร์มเกิดผลตอบแทน/กำไรที่มากขึ้น จึงกลายมาเป็นตัวเลือกหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสุกรเลือกใช้

 

ประโยชน์ของระบบ AIAO สามารถแยกการทำงานตามส่วนการผลิตได้ดังต่อไปนี้

1.โรงเรือนคลอด

1.1.มีการจัดแม่พันธุ์เป็นกลุ่ม การหย่านมก็ทําเป็นกลุ่มง่ายต่อการตรวจสัดและกระตุ้นสัด แม่พันธุ์ถูกผสมและเข้าคลอดพร้อมกันเป็นชุด

1.2.เมื่อถึงเวลาคลอดแม่สุกรในกลุ่มเดียวกัน จะคลอดในเวลาไล่เลี่ยกันทําให้ย้ายฝากหรือฝากเลี้ยงลูกสุกรได้ง่าย

1.3.ระยะเวลาเลี้ยงลูกของแม่พันธุ์ไม่สั้นหรือยาวเกินไป นอกจากไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของลูกสุกรแล้ว แม่พันธุ์ยังไม่สูญเสียน้ำหนักมากจนทําให้กระทบต่อระบบสืบพันธุ์ในรอบการผลิตหน้าอีกด้วย

 

2.โรงเรือนผสม-อุ้มท้อง

2.1.สะดวกในการดูแลเอาใจใส่แม่พันธุ์ที่มีสถานภาพแตกต่างกัน ทําให้อัตราการผสมติดสูงขึ้นและลดจํานวนวันไม่ให้ผลผลิตลง

2.2.ฟาร์มที่ใช้การผสมเทียม สามารถคํานวณความต้องการน้ำเชื้อได้ล่วงหน้า

2.3.คาดการณ์จํานวนสุกรสาวที่ต้องทดแทนในฝูงได้ง่ายและเป้าผสมไม่ขาด

   3.โรงเรือนอนุบาล 2site และ สุกรขุน

3.1. การทําความสะอาดทําได้อย่างสมบูรณ์ (ไม่มีสุกรตกค้าง) และพักเล้าได้นานเท่าที่ต้องการเป็นการช่วยให้ลดโอกาสการเกิดโรคภายในฟาร์มได้อีกด้วย

3.2. ลดการติดเชื้อระหว่างสุกรต่างอายุที่อยู่รวมกัน

3.3. มีการใช้โรงเรือนอย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถวางแผน ขนาด จํานวน ตําแหน่งของสุกรได้ในครั้งเดียว และ สามารถลงจํานวนสุกรให้เหมาะกับพื้นที่การเลี้ยงตามมาตรฐานทั่วไปเพื่อให้มีความหนาแน่นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

3.4. ช่วยให้โปรแกรมการติดตามต่าง ๆ ระหว่างการขนส่งสะดวกและง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนอาหารตามระยะการเลี้ยง หรือ การวัดอัตราการเปลี่ยนอาหาร (FCR) และอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) ซึ่งสามารถทําได้อย่างละเอียด

 

4.วางระบบหรือโครงสร้างการทํางานของคนในฟาร์มได้ง่าย

4.1. มีการวางแผนการปฏิบัติงาน วางตําแหน่งคนปฏิบัติและกระจายคนทํางานได้ดีกว่า ทําให้ประหยัดเวลาในการทํางาน

4.2. ในฟาร์มขนาดใหญ่ สามารถจัดคนทํางานที่มีความชํานาญเฉพาะด้านลงในตําแหน่งที่เหมาะสมได้

4.3. ลดวันทํางานลง ทําให้มีวันหยุดงานได้ในแต่ละสัปดาห์โดยเฉพาะ ฟาร์มระบบครอบครัวจะมีเวลาของครอบครัวมากขึ้น

เทคนิคการจัดการฟาร์มที่มุ่งประโยชน์สูงสุดของระบบ AIAO นี้ทําให้ผู้ดูแลฟาร์มสามารถประเมินผลการผลิตของสุกรแต่ละกลุ่มได้อย่างรวดเร็ว จึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้ระบบนี้ในฟาร์ม

#Key Success #การจัดการฟาร์ม

#iTACteam #ทีมวิชาการทางด้านฟาร์มปศุสัตว์ #สุกร #Swine

 

Article

[vc_basic_grid post_type=”post” max_items=”12″ style=”pagination” items_per_page=”4″ element_width=”3″ arrows_design=”vc_arrow-icon-arrow_08_left” initial_loading_animation=”none” grid_id=”vc_gid:1641546088355-651ba1b9a67a1ab2edc9e023d4f978f9-9″]

For customer        02-937-4888