ไข่ไก่กินแล้วดียังไงหนอ!!! By : ศูนย์วิจัยและพัฒนา VRI

กรมปศุสัตว์ร่วมมือกับกรมอนามัย รณรงค์คนไทยกินไข่ 300 ฟองต่อคนต่อปี หรือกินไข่วันละ 1 ฟองต่อคน โดยไข่ไก่ถือเป็นอาหารที่ประโยชน์ต่อร่างกาย ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี่ต่อไข่ไก่ 1 ฟอง และมีโปรตีนประมาณ 7 กรัม ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย กรดอะมิโนเหล่านี้ใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุสำคัญได้แก่ ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส รวมถึงวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี 1 บี 2 บี 6 โฟเลต วิตามินดี วิตามินอี เลซิธิน ลูทีน ซีแซนทีน และโคลีน

ตามมาตรฐานการผลิตและค้าไข่ไก่ กำหนดให้ระบุอายุไข่เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค เกณฑ์สากลอยู่ที่ไม่เกิน 21 วัน โดยทั่วไปหากรักษาไข่ในอุณหภูมิน้อยกว่า 20 องศาเซลเซียส ไข่มีอายุไม่เกิน 9 วันถือว่าเป็นไข่ใหม่ หากไข่อายุ 10 – 12 วันถือว่าไข่เริ่มเก่า และมีการระบุวันหมดอายุของไข่ไก่บนฉลาก 21 วันหลังจากวันผลิตไข่ไก่ตามเกณฑ์สากล

การเลือกไข่ไก่สดและมีคุณภาพ เริ่มจากการสังเกตเปลือกไข่ต้องสะอาดไม่มีมูลไก่เปื้อน เปลือกไข่ไม่บุบ ร้าว หรือ มีรอยแตก ไข่ที่สดจะมีผิวหยาบ สากมือ แต่หากเป็นไข่เก่าผิวจะเรียบและลื่น เมื่อนำไข่มาตอก ไข่สดใหม่ไข่แดงจะกลมนูน ไข่ขาวเป็นวุ้นอยู่โดยรอบ ไข่แดง หากเป็นไข่เก่าไข่แดงจะแบนและไข่ขาวจะกระจายตัว มีลักษณะเหลวกว่าไข่ใหม่ หากพบเลือด หรือจุดสีแดง อาจดูไม่น่ารับประทานแต่สามารถรับประทานได้ และยังคงมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน สาเหตุของการเกิดเลือด หรือจุดสีแดง ในไข่เกิดจากการแตกของเส้นเลือดในรังไข่ของแม่ไก่ขณะสร้างไข่ ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียด อาหารหรืออายุของแม่ไก่

สำหรับไข่ไก่ที่หมดอายุจากวันที่ระบุหน้าฉลากไปแล้วสามารถรับประทานได้ แต่ไม่ควรเกิน 28 วัน ซึ่งการรับประทานไข่ไก่ที่เก็บไว้นานๆ ควรรับประทานแบบปรุงสุกเท่านั้น เนื่องจากไข่ไก่เก่าที่มีอายุนาน อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ

วิธีการง่ายๆ ในการแยกไข่ไก่สด กับไข่ไก่เก่า ให้นำไข่ไปแช่น้ำ ไข่ใหม่จะจมน้ำ ไข่เก่าจะลอยน้ำ หากมีส่วนโผล่พื้นน้ำมากแสดงว่าไข่เก่ามาก

CategoryArticle

ไข่ไก่กินแล้วดียังไงหนอ!!! By : ศูนย์วิจัยและพัฒนา VRI

กรมปศุสัตว์ร่วมมือกับกรมอนามัย รณรงค์คนไทยกินไข่ 300 ฟองต่อคนต่อปี หรือกินไข่วันละ 1 ฟองต่อคน โดยไข่ไก่ถือเป็นอาหารที่ประโยชน์ต่อร่างกาย ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี่ต่อไข่ไก่ 1 ฟอง และมีโปรตีนประมาณ 7 กรัม ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย กรดอะมิโนเหล่านี้ใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุสำคัญได้แก่ ธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส รวมถึงวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบี 1 บี 2 บี 6 โฟเลต วิตามินดี วิตามินอี เลซิธิน ลูทีน ซีแซนทีน และโคลีน

ตามมาตรฐานการผลิตและค้าไข่ไก่ กำหนดให้ระบุอายุไข่เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค เกณฑ์สากลอยู่ที่ไม่เกิน 21 วัน โดยทั่วไปหากรักษาไข่ในอุณหภูมิน้อยกว่า 20 องศาเซลเซียส ไข่มีอายุไม่เกิน 9 วันถือว่าเป็นไข่ใหม่ หากไข่อายุ 10 – 12 วันถือว่าไข่เริ่มเก่า และมีการระบุวันหมดอายุของไข่ไก่บนฉลาก 21 วันหลังจากวันผลิตไข่ไก่ตามเกณฑ์สากล

การเลือกไข่ไก่สดและมีคุณภาพ เริ่มจากการสังเกตเปลือกไข่ต้องสะอาดไม่มีมูลไก่เปื้อน เปลือกไข่ไม่บุบ ร้าว หรือ มีรอยแตก ไข่ที่สดจะมีผิวหยาบ สากมือ แต่หากเป็นไข่เก่าผิวจะเรียบและลื่น เมื่อนำไข่มาตอก ไข่สดใหม่ไข่แดงจะกลมนูน ไข่ขาวเป็นวุ้นอยู่โดยรอบ ไข่แดง หากเป็นไข่เก่าไข่แดงจะแบนและไข่ขาวจะกระจายตัว มีลักษณะเหลวกว่าไข่ใหม่ หากพบเลือด หรือจุดสีแดง อาจดูไม่น่ารับประทานแต่สามารถรับประทานได้ และยังคงมีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน สาเหตุของการเกิดเลือด หรือจุดสีแดง ในไข่เกิดจากการแตกของเส้นเลือดในรังไข่ของแม่ไก่ขณะสร้างไข่ ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียด อาหารหรืออายุของแม่ไก่

สำหรับไข่ไก่ที่หมดอายุจากวันที่ระบุหน้าฉลากไปแล้วสามารถรับประทานได้ แต่ไม่ควรเกิน 28 วัน ซึ่งการรับประทานไข่ไก่ที่เก็บไว้นานๆ ควรรับประทานแบบปรุงสุกเท่านั้น เนื่องจากไข่ไก่เก่าที่มีอายุนาน อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ

วิธีการง่ายๆ ในการแยกไข่ไก่สด กับไข่ไก่เก่า ให้นำไข่ไปแช่น้ำ ไข่ใหม่จะจมน้ำ ไข่เก่าจะลอยน้ำ หากมีส่วนโผล่พื้นน้ำมากแสดงว่าไข่เก่ามาก

CategoryVRI, Article, BU, Poultry

For customer        02-937-4888