Open/Close Menu ผู้นำทางด้าน แอนิมัล เฮลท์

ไอ ซี (I seeee! ) กับอาหารสัตว์ผสมยา By: ศูนย์วิจัยและพัฒนาVRI

การผลิตอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับสัตว์ แต่การผลิตอาหารสัตว์ให้ดีและถูกต้องตามกฎหมายเป็นสิ่งที่สุขใจของผู้ผลิต ดังนั้นการทำความเข้าใจในเรื่องกฎหมายอาหารสัตว์ผสมยาเป็นสิ่งที่จำเป็น การจัดทำระบบมาตรฐานเพื่อรองรับกฎหมายอาหารสัตว์ผสมยา สามารถหาคำตอบได้กับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จากทีมงาน iTAC เบื้องต้นเรามาทำความรู้จักรายละเอียดคร่าวๆกันก่อน

จากประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของอาหารสัตว์ที่ผสมยาที่ห้ามผลิต นำเข้าขาย และใช้ พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2561

  1. ห้ามผู้ใดผลิต นำเข้า ขายอาหารสัตว์ที่ผสมยาและใช้ยา ดังต่อไปนี้ผสมอาหารสัตว์
    1. ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาสำหรับผสมอาหารสัตว์ เภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป
    2. ยากลุ่มโพลีมิกซิน กลุ่มเพนิซิลลิน กลุ่มฟลูออโรควิโนโลน และยาฟอสโฟมัยซิน  เพื่อป้องกันโรคหรือใช้ขนาดยา ระยะเวลาการใช้ยาไม่ตรงกับที่ระบุในฉลากยา และการนำยาตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปผสมรวมกันในอาหารสัตว์
    3. ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporin)
    4. ใช้ยาต้านแบคทีเรียต่ำกว่าที่ระบุในทะเบียน (ยกเว้นใช้ยารวมกัน > 1 ชนิด โดยมีข้อมูลวิชาการหรือเอกสารอ้างอิง)
  2. ในกรณีผู้ผลิตอาหารสัตว์ผสมยาจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

กลุ่มที่ 1 ผู้ผลิตอาหารสัตว์ผสมยาต้านแบคทีเรีย เพื่อใช้ในฟาร์มตนเอง จะครอบคลุม

(ก) ผู้ผลิตอาหารสัตว์สำหรับสุกร ซึ่งมีจำนวนสุกรตั้งแต่ 500 ตัวขึ้นไป

(ข) ผู้ผลิตอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ปีกให้เนื้อ ซึ่งมีจำนวนสัตว์ตั้งแต่ 5,000 ตัวขึ้นไป

(ค) ผู้ผลิตอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ปีกให้ไข่ ซึ่งมีจำนวนสัตว์ตั้งแต่ 1,000 ตัวขึ้นไป

  • มีใบสั่งใช้ยา ใบสั่งซื้อยา ที่มีลายเซ็นสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์ม เก็บอย่างน้อย 3 ปี และสรุปปริมาณการใช้ยาผสมอาหารสัตว์ส่งกรมปศุสัตว์ (ปีละ 1 ครั้ง)
  • ต้องมีการทดสอบการกระจายตัวในอาหาร (CV<10%) และ ทดสอบการปนเปื้อนข้ามของยา (<5% แต่ถ้าอาหารสัตว์ระยะสุดท้ายก่อนขาย <1%) ส่งปศุสัตว์จังหวัด ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของปีถัดไป
  • จดแจ้งเป็นผู้ที่ผลิตอาหารสัตว์ผสมยา
  • จัดให้มีระบบควบคุมการผลิต และการบำรุงรักษาทวนสอบเครื่องจักรที่ใช้ผลิตอาหารสัตว์ผสมยา และจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มที่ 2 ผู้ผลิตอาหารสัตว์ผสมยาต้านจุลชีพ เพื่อจำหน่าย (รวมถึงส่งให้ลูกเล้า)

  • จดแจ้งเป็นผู้ที่ผลิตอาหารสัตว์ผสมยา
  • สถานที่ผลิตอาหารสัตว์ต้องได้รับการรับรอง GMP เก็บเอกสารและใบสั่งใช้ยาไว้อย่างน้อย 3 ปี
  • ต้องมีสัตวแพทย์ควบคุมการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยา
  • ต้องมีการทดสอบการกระจายตัวในอาหาร (CV<10%) และ ทดสอบการปนเปื้อนข้ามของยา (<5% แต่ถ้าอาหารสัตว์ระยะสุดท้ายก่อนขาย <1%) ส่งปศุสัตว์จังหวัด ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของปีถัดไป
  • การขนส่งอาหารสัตว์ที่ผสมยา ฉลากหรือเอกสารระบุรายละเอียดต่างๆ
  • จัดทำข้อมูลปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพ ที่นำมาผสมในอาหาร ปริมาณการขายอาหารสัตว์

สนใจต้องการจัดทำระบบมาตรฐานเพื่อรองรับกฎหมายอาหารสัตว์ผสมยา ติดต่อฝ่ายขายเครือเวทโปรดักส์ กรุ๊ป

CategoryVRI, Article

For customer        02-937-4888