Open/Close Menu ผู้นำทางด้าน แอนิมัล เฮลท์

ไรขี้เรื้อนเป็นโรคผิวหนังที่พบได้ทั่วไปในฟาร์มสุกร ที่ทำความเสียหายให้ทางฟาร์มแบบไม่รู้ตัว เช่น การเจริญเติบโตช้า การเกิดโรคแทรกซ้อนได้ การกินได้ลดลง และยังทำให้ผิวหนังไม่สวยงาม เป็นต้น

ไรขี้เรื้อนบนผิวหนัง

วงจรชีวิตของไรชนิดนี้ประกอบไปด้วย 4 ระยะที่สำคัญคือ ไข่ ตัวอ่อน, ตัวกลางวัย, และตัวเต็มวัย เริ่มจากตัวเต็มวัยเพศผู้ และเพศเมียผสมพันธุ์กันและออกไข่ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปกระสวย จากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อน ที่มีลักษณะเรียวยาวและมีขา 6 ขา ต่อมาตัวอ่อนจะลอกคราบกลายเป็นตัวกลางวัย ที่มี 8ขา ที่ระยะนี้ตัวกลางวัยจะลอกคราบอีก 2 ครั้งเพื่อกลายเป็นตัวเต็มวัย และพัฒนาต่อจนผสมพันธุ์ออกไข่ในรุ่นต่อไป

วงจรชีวิตของไรชนิดนี้ใช้เวลาเพียง 3 สัปดาห์ในการพัฒนาจากไข่จนถึงตัวเต็มวัยที่สมบูรณ์พร้อมออกไข่ในรอบต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นวงจรชีวิตที่สั้นมากๆและง่ายต่อการแพร่ขยายจำนวนเพื่อก่อโรคในสัตว์

ไรขี้เรื้อบนผิวหนัง

เราขอแนะนำวิธีกำจัดไรขี้เรื้อนในฟาร์มอย่างไรให้ได้ผลมากที่สุด
ทำความสะอาด เก็บขี้สุกร ปิดน้ำหยด และ เก็บอาหารออกให้เรียบร้อย
ใช้ยาสารฆ่าแมลงที่นำมาใช้ในการรักษาโรคขี้เรื้อนสุกรมาเป็นเวลานาน ที่นิยมใช้กันและค่อนข้างได้ผล ได้แก่ ลินเดน ท็อกซาฟิน มาลาไทออน ไตรคลอร์ฟอน ไดอะซินอน ฟอสเมท และ ไอเวอร์เม็คติน ที่ใชผสมอาหารหรือฉีด
ผสมยากับน้ำในอัตรา 1 ต่อ 100 และให้ผสมสีผสมอาหารด้วยจะได้เห็นว่าพ่นทั่วหรือเปล่า ใช้เครื่องพ่นแรงดันต่ำ
พ่นให้ทั่วโดยเน้นที่หน้า หู คอ ซอกขาหนีบ และพ่นลำตัวให้ทั่ว ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง
โปรแกรมการพ่นไรขี้เรื้อนที่แนะนำคือ
วันที่ 1 – พ่นเพื่อกำจัดตัวอ่อนและตัวแก่
วันที่ 7 – พ่นซ้ำเพื่อกำจัดตัวอ่อนที่ออกจากไข่
วันที่ 30 – พ่นซ้ำเพื่อกำจัดตัวอ่อนที่ออกจากไข่
และทุก30วัน – เพื่อควบคุมไรขี้เรื้อน

#ตอบทุกโจทย์เรื่องปศุสัตว์ #ไรขี้เรื้อน
#iTACteam #ทีมวิชาการทางด้านฟาร์มปศุสัตว์

CategoryArticle, BU, สุกร

For customer        02-937-4888